55 หมู่ 3 ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี 10240
เวลาทำการ 08:00-17:00 จันทร์-เสาร์
สายด่วน
098-9154635
Line OA

Fiber Optic คือ?

Fiber Optic (สายใยแก้วนำแส่ง) เป็นเส้นใยแก้ว ซึ่งสามารถนำแสงได้ ซึ่งการส่งข้อมูลผ่านสาย ประเภท Fiber Optic นี้ จะใช้ ความยาวคลื่นแสงในการส่งรหัส ซึ่งต่างจากสาย ทองแดงหรือสายที่เราใช้กันเป็นปรกติคือส่าย UTP หรือสายแลน ที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่ ซึ่งสาย Fiber Optic นั้น มีอยู่ 2 ประเภท ที่ใช้งานในปัจจุบันนี้ คือแบบ

Single Mode (SM) มีความยาวคลื่อแสง 1310,1490,1550,1625,1600 เป็นต้น
Multi Mode (MM) มีความยาวคลื่นแสง 850,1300

สาย Fiber Optic มีชั้นแก้วหลักแยกเป็นสองส่วน ส่วนในสุดเรียกว่า Core หรือแกนหลักนั่นเอง ส่วนที่สองเป็นเปลือกหุ้ม เรียกว่า Cladding ตัวนี้จะป้องกันไม่ให้แสงแตกกระจายออกจากแกนหลักนั่นเอง โดยสาย Fiber Optic แบบ SM และ MM จะมีส่วนของเปลือกหุ้มเท่ากันคือ 125 ไมครอน ส่วนขนาดของแกนหลัก SM จะมีขนาด 9 ไม่ครอน และสายแบบ MM จะมีส่วนของแกนหลัก 2 ขนาดคือ 62.5 ไมครอน สำหรับสาย OM1 ตัวนี้จะไม่ได้ใช้แล้วปัจจุบันนี้ และ อีกตัวที่ยังคงใช้งานอยู่คือ 50 ไมครอน สำรหรับสาย OM2,OM3,OM4

สาย Fiber Optic Multi Mode (MM) เป็นสาย Fiber ที่ใช้หลักการส่งคลื่นแสงแบบ กระจาย ซึ่งทำให้การค่าสูญเสียค่อนข้างมาก จึงไม่เหมาะที่จะนำไปเดินกับงานที่ระยะทางไกลๆ มันเหมาะสำหรับงานที่ใช้ภายในอาคาร หรือเชื่อมโยงสัญญาณ ที่ระยะที่ดีที่สุดไม่ควรจะเกิน 800 เมตร ปัจจุบันที่ผมเขียน บทความนี้ สาย Fiber Optic Multi Mode ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว มีบางหน่วยงานเท่านั้นที่ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้งานอยู่ อันเนื่องด้วยถูก Lock Spec งาน หรือด้วยอุปกรณ์ เดิม มันบังคับ จึงยังจำเป็นต้องใช้อยู่

สาย Fiber Optic Single Mode (SM) เป็นสาย Fiber ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน ภาค รัฐ, โรงงาน, True,AIS,3BB พวกนี้ใช้สายประเภทนี้ทั้งหมด อันเนื่องด้วยมันราคาถูกมากด้วย และปัจจุบันหาซื้อได้ทั่วๆไปแล้ว ตามจากสาย Fiber Optic แบบ Multi Mode ซึ่งถ้าใครจะใช้ก็จะต้องหาซื้อกันยากหน่อยทุกวันนี้ครับ สาย Single Mode มันใช้หลักการส่งสัญญาณแสงแบบเส้นตรง ยิงตรงๆ มันจึงส่งสัญญาณได้ไกล ค่าสูญเสียค่อนข้างต่ำ และปัจจุบัน มันเป็นสายประเภทหลักที่ใช้ในโครงข่ายสำคัญๆ ในบ้านเรา

การนำสาย Fiber Optic ไปใช้งาน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพหน้างาน เช่นงานภายในอาคาร ควรใช้สายแบบ Outdoor/indoor งาน เกาะเสาไฟฟ้า ควรใช้แบบ มีสลิง หรือพวกสายแบบ Armor หรือ ADSS เป็นต้น ส่วนสายแบบ indoor เพียวๆ ไม่แนะนำให้เอามาเดินกันนะครับ พวกนั้นเหมาะกับงานในห้อง Datacenter เพราะสายค่อนข้างเปราะบาง เสียหายง่ายมาก

การเลือกผู้ให้บริการติดตั้งสาย Fiber Optic ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีประสปการณ์ เนื่องด้วยงาน Fiber Optic มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และมีค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ ดังนั้นหากจะลงทุนกันทั้งทีเลือก ผู้ให้บริการที่มีคุณภาพหน่อยนะครับ เช่นดูว่า มีเครื่องไม้เครื่อมือพร้อมหรือไม่ เช่นเครื่องสำหรับเชื่อมต่อสาย Fusion Splicer และเครื่องเทสวัดเช่น OTDR เป็นต้น บางผู้รับเหมาอาจจะไม่มีเครื่องเหล่านี้ ก็จะมาใช้บริการ เข้าหัว Fiber Optic หรือมาเช่าเครื่องมือเอาไปแทนกันก็ได้ครับ ซึ่งทางบริษัท เราก็มีให้บริการกันแบบครบวงจรกันเลนล่ะครับ สำหรับท่านที่กำลัง มือหาทีมงานออกแบบ และ วางระบบ Fiber Optic ติดต่อ ทีมงาน เทคเน็ตอินโฟร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่

ติดต่องาน ทดสอบสายแลน
รับเทสสายแลน
ติดต่องาน ทดสอบสายแลน

แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสาย Fiber Optic เพื่มเติม

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%83%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87

Add a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *